สรุปวิจัยคณิตศาสตร์
เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยใช้รูปเเบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ของ
คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว
ทักษะคณิตศาสตร์เป็นทักษะที่แทรกอยู่ได้ทุกกิจกรรมศิลปะเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้
สํารวจค้นคว้าเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดริเริ่มและจิตนาการ
อันจะส่งผลให้เด็กมีคุณลักษณะที่สําคัญ ได้แก่ ความเป็นเหตุเป็นผล รู้จักการสังเกต
ซึ่งสอดคล้องกับ พีระพงษ์ กุลพิศาล ที่กล่าวว่า
กิจกรรมศิลปะจะช่วยให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งรอบๆ ตัวไม่ว่าจะเป็น เรื่องของสี
รูปทรง รูปร่าง พื้นผิว พื้นที่ว่าง น้ําหนัก อ่อน –
แก่ของสีการที่เด็กได้วาดภาพซักภาพก็เป็นสิ่งที่ทําให้ทราบว่าเขาได้เรียนรู้แล้วมีประสบการณ์ต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวในระดับใด
เป็นการเรียนรู้จากการใช้ความรู้สึกสัมผัสอย่างแท้จริง (พีระพงษ์ กุลพิศาล. 2536:9
– 29 )
ความมุ่งหมายของการวิจัย
เพื่อเปรียบเทยบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ขอบเขตของการศึกษาววิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย
– หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี
ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ
กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จํานวน 10 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้
เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี
ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ
กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลยราชภัฏสวนดุสิต ซึ่งได้จากการจับฉลากมา 1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
โดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง
ระยะเวลาในการทดลอง
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองซึ่งจัดกระทําในภาคเรียนที่
2 ปีการศึกษา 2549 ใช้เวลาในการทดลอง 8
สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรอิสระ
ได้แก่ รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
5 ด้าน ดังนี้
2.1. การบอกตําแหน่ง
2.2. การจําแนก
2.3. การนับปากเปล่า 1 – 30
2.4. การรู้ค่ารู้จํานวน 1
–20
2.5. การเพิ่ม – ลด ภายในจํานวน 1
– 10
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความ
เชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86
สรุปผลการวิจัย
1. เด็กปฐมวยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย
ทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจําแนกรายทักษะ
คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง ทักษะการจําแนก ทักษะการนับ 1 – 30 ทักษะการรู้ค่าจํานวน
และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจํานวน 1 – 10 อยู่ในระดับดี
แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ย สูงขึ้น
2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตรในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น