สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กอนุบาลเรียนวิทย์ผ่าน "ดินมหัศจรรย์"
ครูโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ชั้นเรียนอนุบาล 2 ได้พาเด็กๆเรียนรู้เเบบบูรณาการ เรื่อง ดินมหัศจรรย์ ซึ่งเด็กๆส่วนใหญ่สนใจเรียนรู้ คือ เรื่อง " เครื่องปั้นดินเผา "
ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการครูได้ตั้งคำถามว่า " ก่อนจะมาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้นั้น ต้องมีสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ เเละเครื่องปั้นดินเผานั้นทำมาจากอะไร "
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ ครูนำดินมาใส่โหลสีใสให้เด็กๆดูอย่างใกล้ชิด พร้อมให้เด็กๆตั้งคำถามเกี่ยวกับดิน เเละหาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างหลากหลาย ได้เเก่ โดยใช้เเว่นขยายส่องโหลสีใสที่ใส่ดินไว้ข้างใน เเล้วให้เด็กๆวาดรูปสิ่งที่สังเกตได้ในโหลสี หลังจากนั้นคุณครูเปิดคลิปวีดีโอ เรื่อง " ชนิดเเละสมบัติของดิน " จากอินเทอร์เน็ต ครูนำดิน 3 ประเภทมาใส่กระบะทั้ง 3 กระบะให้นักเรียนได้สังเกต หลังจากนั้นครูก็อธิบายคุณสมบัติของดิน เเละประเภทของดินให้เด็กๆฟัง
ในสัปดาห์ที่สอง ให้เด็กๆดูชาร์ตส่วนประกอบของดิน หลังจากนั้นครูพาเด็กๆไปสำรวจนอกห้องเรียน เมื่อกลับมาถึงห้องเรียนครูก็จะถามเรื่องดินเเละส่วนประกอบของดิน เเละร่วมกันตอบคำถามเเสดงความคิดเห็น
วันอังคาร ครูเปิดคลิปวิดีโอเรื่อง “รักษ์ป่า” ให้นักเรียนได้ดูและร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็น (ดิน-น้ำ-อากาศ)
วันพุธ ครูทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ไปเมื่อวานเกี่ยวกับประโยชน์ของดิน นำข้อมูลจากแบบสอบถามมาสนทนากัน นักเรียนร่วมกันวาดภาพประโยชน์ของดินลงในชาร์ตในแต่ละกลุ่ม และออกมานำเสนอหน้าห้อง ครูนำตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาของจริงมาให้เด็กได้สังเกตและสัมผัส ถึงความแตกต่าง รูปร่าง ลักษณะ สี ขนาด โดยเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีความหลากหลาย
หลังจากนั้นครูก็สวมบทบาทเป็นนักวิทยาศาสตร์ผ่าเเอปเปิ้ล เพื่อที่จะให้นักเรียนได้ดูส่วนประกอบต่างๆ ของโลกว่าดินมีกี่ส่วน น้ำกี่ส่วน เเต่ละส่วนมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด
ระยะที่ 3 สรุปโครงการ ครูทบทวนความรู้ของนักเรียนจากที่เคยได้ร่วมสำรวจ สืบค้นด้วยวิธีต่างๆ นำชาร์ตคำถามที่นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามในตอนแรก มาให้นักเรียนตอบคำถามเหล่านั้นด้วยตนเอง
ทบทวนความรู้ของนักเรียนจากที่เคยได้ร่วมกันสำรวจ สืบค้น เเละให้นักเรียนร่วมกันเรียนรู้และปั้นดินเหนียวตามจินตนาการโดยนักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ผ่านลงมือทำด้วยตนเอง และได้เรียนรู้คณิตศาสตร์จากสายสร้อยอนุกรมจากดินเหนียว
คณิตศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์ในขณะที่ให้เด็กทำกิจกรรม เพียงแต่ครูควรตระหนักว่ากิจกรรมที่จัดนั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้เด็ก และควรจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น