วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2563

  สรุปวิดีโอตัวอย่างการสอนวิทยาศาสตร์

สื่อการสอน การทดลองการเกิดฝน

https://youtu.be/vZaGMAQ9X-A

    ก่อนทำการเรียนการสอนคุณครูร้องเพลงเก็บเด็กเพื่อให้เด็กพร้อมในการเรียน หลังจากนั้นคุณครูร้องเพลงเกี่ยวกับก้อนเมฆ เเล้วให้เด็กร้องตามพร้อมทำท่าประกอบเพลง เเล้วคุณครูก็อธิบายการเกิดฝน เเล้วมีการทดลองการเกิดฝนด้วย


 สรุปวิดีโอตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์

การเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ( เรียนรู้การนับจำนวน ) 

https://youtu.be/NULYA9N3ysU

    ก่อนสอนคุณครูให้เด็กร้องเพลงเพื่อเตรียมควาพร้อม เเล้วสอนเรื่องเลขอะไรออกไข่กี่ฟอง เเล้วให้ตัวเเทนเด็กออกมา 1 คน ออกมาจับฉลากตัวเลข เเล้วให้เด็กคนอื่นออกมาหยิบไข่ให้ได้เท่าจำนวนตัวเลขที่เด็กจับได้ เเล้วนำไปวางไว้บนเเฝงไข่ สลับกันจับเเละวางไปเรื่อยๆ จนครบทุกคน การจัดกิจกรรมอยู่ที่ โรงเรียนอนุบาลทองขาว 166 ม.10 บ้านบ่อ ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร 


วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 

ครั้งที่ 4

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4


EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 25 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563

เวลา 08:30-12:30 


เนื้อหาที่เรียนวันนี้

    อาจารย์ให้พูดถึงรูปเเบบเเละลักษณะของเด็กปฐมวัยในเเต่ละช่วงวัย

    - พัฒนาการด้านร่างกายเด็กวัย 3 ปี เด็กวัยนี้กล้ามเนื้อแข็งแรง ชอบออกกำลังกาย สามารถบังคับการเคลื่อนไหวได้ดีมาก กระโดดหรือวิ่งก็ได้ ขี่จักรยาน 3 ล้อ กระโดดสูง กระโดดขาเดียว สามารถขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้ รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสองข้าง และสามารถโยนลูกบอลระยะไกล 1 เมตรได้ เขียนรูปวงกลมตามแบบได้ และยังใช้กรรไกรด้วยมือข้างเดียวได้ ใช้มือหยิบจับอาหารตลอดจนใช้ช้อนตักอาหารเข้าปาก ช่วยตัวเองในการแต่งกาย เช่น ถอดและใส่กระดุมเสื้อได้เอง แต่ยังต้องการให้ผู้ใหญ่ช่วยเหลือ

    - พัฒนาการด้านร่างกายเด็กวัย 4 ปี กล้ามเนื้อขาและแขนแข็งแรง การเคลื่อนไหวของร่างกายของเด็กวัยนี้ กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่นิ่ง ปีนป่าย เต้นท่าทางต่างๆได้อย่างสนุกสนาน ใช้มือถนัดขึ้น หยิบวัตถุเล็กๆได้ สามารถวิ่งและหยุดได้คล่อง รับลูกบอลได้ด้วยมือทั้งสอง เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้ เขียนรูปสี่เหลี่ยมตามแบบได้ ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้ สามารถช่วยตนเองเรื่องปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ เช่น การแต่งกาย การแปรงฟัน การหวีผม เป็นต้น

    - พัฒนาการด้านร่างกายเด็กวัยระหว่าง 5-6 ปี สามารถควบคุมกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ได้ดี แต่รายละเอียดยังไม่ดีนัก เด็กวัยนี้สามารถฝึกพับกระดาษ ตัดกระดาษ และเล่นเกี่ยวกับการก่อสร้างได้ดี ผูกเชือกรองเท้า เขียนรูปสามเหลี่ยมตามแบบ และยังสามารถใช้กรรไกรตัดกระดาษตามแนวเส้นโค้งที่กำหนดได้ สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดี เช่นการอาบน้ำ สระผม แปรงฟัน ล้างมือ แต่งกาย


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

    1. Age = ช่วงวัย

    2. A muscle = กล้ามเนื้อ

    3. Development = พัฒนาการ

    4. Daily routine = กิจวัตรประจำวัน

    5. Exercise = ออกกำลังกาย


ประเมินอาจารย์

    อาจารย์ตั้งใจสอนทำให้เด็กเข้าใจ เพราะว่าอาจารย์อธิบายอย่างชัดเจน ละเอียด เข้าใจง่าย

ประเมินตนเอง

    ตั้งใจฟังที่อาจารย์พูด เข้าใจเนื้อหาได้มากขึ้นเนื่องจากอาจารย์อธิบายเข้าใจง่าย

ประเมินเพื่อน

    เพื่อนมีความกระตือรือร้นในการตอบคำถามของอาจารย์

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3


EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 18 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563

เวลา 08:30-12:30 

เนื้อหาที่เรียนวันนี้

    อาจารย์ได้ยกตัวอย่างของการชุมนุมพร้อมวิเคราะห์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เเละคณิตศาสตร์ สิ่งเเวดล้อมที่เกิดขึ้นรอบๆตัว นอกจากนั้นอาจารย์อาจารย์ยังสอนให้เลือกเรื่องที่เราสามารถนำมาสอนเด็กให้เหมาะสมกับวัยของเขาอีกด้วย ทั้งในเรื่องของพัฒนาการเด็กปฐมวัย


คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

    1. Development = พัฒนาการ

    2. Environment = สิ่งเเวดล้อม

    3. Democracy = ประชาธิปไตย

    4. Early childhood = เด็กปฐมวัย

    5. Analyze = วิเคราะห์


ประเมินอาจารย์

    อาจารย์ตั้งใจพูดเเละตั้งใจสอน มีเทคนิคในการสอน พร้อมยกตัวอย่างการสอนทุกครั้ง 

ประเมินตนเอง

    มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์เวลาอาจารย์ถาม-ตอบ

ประเมินเพื่อน

    เพื่อนมาเรียนครบทุกคน มีบ้างบางคนที่ไม่ค่อยตั้งใจเรียนเท่าไหร่

วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2


EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 11 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563

เวลา 08:30-12:30 

เนื้อหาที่เรียนวันนี้

        อาจารย์มอบหมายงานให้สรุปบทความ วิจัย เเละตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์เเละวิทยาศาสตร์ลงบล็อค เเล้วให้เชื่อมต่อกับลิงค์ของเพื่อนให้ครบทุกคน เเละหลังจากนั้นก็ให้ถ่ายรูปสมาชิกในกลุ่มเเล้วถ่ายรูปลงกระดาน padlet


ประเมินอาจารย์

    อาจารย์สั่งงานได้ละเอียดเเละอธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาในการเรียนได้ชัดเจน

ประเมินตนเอง

    มาเรียนตรงเวลาที่อาจารย์กำหนด ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้ทำ

ประเมินเพื่อน

    เพื่อนมีความกระตือรือร้นในการทำงาน ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้

 

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563


สรุปวิจัยวิทยาศาสตร์

เรื่อง การพัฒนาการจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ของ

นันธิชา ทาภักดี

    ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผลเเสวงหาความรู้สามารถเเก้ไขปัญหาได้ตามวัยของเด็กควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งเเวดล้อมรอบๆตัวทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา 

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย

    กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในศึกษาเป็นเด็กปฐมวัย ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโสกนาดี ศูนย์เครือข่ายโคกนาเเพง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนเเก่น เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 20 คน ตัวเเปรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย

    1.1 ตัวเเปรอิสระ ได้เเก่ การจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

    1.2 ตัวเเปรตาม ได้เเก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 5 ทักษะ คือ 

        1.2.1 ทักษะการสังเกต

        1.2.2 ทักษะการวัด

        1.2.3 ทักษะการจำเเนก

        1.2.4 ทักษะการสื่อความหมาย

        1.2.5 ทักษะการพยากรณ์

ระยะเวลาในการทดลอง

    การทำวิจัยในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 พัฒนาการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการจำเเนก ทักษะการสื่อความหมาย เเละทักษะการพยากรณ์ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที รวมเวลา 15 วัน ( เวลายืดหยุ่นได้ตามเหมาะสม )

สรุปผลการวิจัย

    1. ประสิทธิภาพของเเผนการจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

    2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าเท่ากับ 0.7348 หรือคิดเป็นร้อยละ 73.48

    3. เด็กปฐมวัยทีี่ด้วยเเผนการจัดประสบการณ์เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์มีคะเเนนเฉลี่ยหลังจากจัดกิจกรรมเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

สรุปวิจัยคณิตศาสตร์

เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยใช้รูปเเบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้

ของ

คมขวัญ อ่อนบึงพร้าว

    ทักษะคณิตศาสตร์เป็นทักษะที่แทรกอยู่ได้ทุกกิจกรรมศิลปะเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ สํารวจค้นคว้าเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดริเริ่มและจิตนาการ อันจะส่งผลให้เด็กมีคุณลักษณะที่สําคัญ ได้แก่ ความเป็นเหตุเป็นผล รู้จักการสังเกต ซึ่งสอดคล้องกับ พีระพงษ์  กุลพิศาล ที่กล่าวว่า กิจกรรมศิลปะจะช่วยให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งรอบๆ ตัวไม่ว่าจะเป็น เรื่องของสี รูปทรง รูปร่าง พื้นผิว พื้นที่ว่าง น้ําหนัก อ่อน – แก่ของสีการที่เด็กได้วาดภาพซักภาพก็เป็นสิ่งที่ทําให้ทราบว่าเขาได้เรียนรู้แล้วมีประสบการณ์ต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวในระดับใด เป็นการเรียนรู้จากการใช้ความรู้สึกสัมผัสอย่างแท้จริง (พีระพงษ์ กุลพิศาล. 2536:9 – 29 )

 

ความมุ่งหมายของการวิจัย

    เพื่อเปรียบเทยบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

 

ขอบเขตของการศึกษาววิจัย

    ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 

        ประชากรวิจัย

        ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ  กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จํานวน 10 ห้องเรียน กลุ่มตัวอย่างการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนสาธิตอนุบาลละอออุทิศ  กรุงเทพมหานคร สังกัดมหาวิทยาลยราชภัฏสวนดุสิต  ซึ่งได้จากการจับฉลากมา 1 ห้องเรียนและได้รับการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยคัดเลือกเด็กที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ใน 15 อันดับสุดท้ายกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง

 

ระยะเวลาในการทดลอง

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองซึ่งจัดกระทําในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549 ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 45 นาที 

 

ตัวแปรที่ศึกษา 

    1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่  รูปแบบกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

    2. ตัวแปรตาม ได้แก่  ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 5 ด้าน ดังนี้ 

        2.1. การบอกตําแหน่ง 

        2.2. การจําแนก 

        2.3. การนับปากเปล่า 1 – 30 

        2.4. การรู้ค่ารู้จํานวน 1 –20 

        2.5. การเพิ่ม – ลด ภายในจํานวน 1 – 10 

 

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 

        1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 

        2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีค่าความ เชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.86

 

   สรุปผลการวิจัย

        1. เด็กปฐมวยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีคะแนนเฉลี่ย ทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ โดยรวม 5 ทักษะและจําแนกรายทักษะ คือ ทักษะการบอกตำแหน่ง  ทักษะการจําแนก  ทักษะการนับ 1 – 30  ทักษะการรู้ค่าจํานวน  และทักษะการเพิ่ม – ลด ภายในจํานวน 1 – 10 อยู่ในระดับดี  แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าเฉลี่ย สูงขึ้น  

        2. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีพัฒนาการทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตรในทุกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 


สรุปบทความวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 


เด็กอนุบาลเรียนวิทย์ผ่าน "ดินมหัศจรรย์"

    ครูโรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ ชั้นเรียนอนุบาล 2 ได้พาเด็กๆเรียนรู้เเบบบูรณาการ เรื่อง ดินมหัศจรรย์ ซึ่งเด็กๆส่วนใหญ่สนใจเรียนรู้ คือ เรื่อง " เครื่องปั้นดินเผา "

ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการครูได้ตั้งคำถามว่า " ก่อนจะมาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้นั้น ต้องมีสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ เเละเครื่องปั้นดินเผานั้นทำมาจากอะไร "

ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ ครูนำดินมาใส่โหลสีใสให้เด็กๆดูอย่างใกล้ชิด พร้อมให้เด็กๆตั้งคำถามเกี่ยวกับดิน เเละหาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างหลากหลาย ได้เเก่ โดยใช้เเว่นขยายส่องโหลสีใสที่ใส่ดินไว้ข้างใน เเล้วให้เด็กๆวาดรูปสิ่งที่สังเกตได้ในโหลสี หลังจากนั้นคุณครูเปิดคลิปวีดีโอ เรื่อง " ชนิดเเละสมบัติของดิน " จากอินเทอร์เน็ต ครูนำดิน 3 ประเภทมาใส่กระบะทั้ง 3 กระบะให้นักเรียนได้สังเกต หลังจากนั้นครูก็อธิบายคุณสมบัติของดิน เเละประเภทของดินให้เด็กๆฟัง

ในสัปดาห์ที่สอง ให้เด็กๆดูชาร์ตส่วนประกอบของดิน หลังจากนั้นครูพาเด็กๆไปสำรวจนอกห้องเรียน เมื่อกลับมาถึงห้องเรียนครูก็จะถามเรื่องดินเเละส่วนประกอบของดิน เเละร่วมกันตอบคำถามเเสดงความคิดเห็น

วันอังคาร ครูเปิดคลิปวิดีโอเรื่อง “รักษ์ป่า” ให้นักเรียนได้ดูและร่วมกันสนทนาแสดงความคิดเห็น (ดิน-น้ำ-อากาศ) 

วันพุธ ครูทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ไปเมื่อวานเกี่ยวกับประโยชน์ของดิน นำข้อมูลจากแบบสอบถามมาสนทนากัน นักเรียนร่วมกันวาดภาพประโยชน์ของดินลงในชาร์ตในแต่ละกลุ่ม และออกมานำเสนอหน้าห้อง ครูนำตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาของจริงมาให้เด็กได้สังเกตและสัมผัส ถึงความแตกต่าง รูปร่าง ลักษณะ สี ขนาด โดยเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีความหลากหลาย

    หลังจากนั้นครูก็สวมบทบาทเป็นนักวิทยาศาสตร์ผ่าเเอปเปิ้ล เพื่อที่จะให้นักเรียนได้ดูส่วนประกอบต่างๆ ของโลกว่าดินมีกี่ส่วน น้ำกี่ส่วน เเต่ละส่วนมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด

ระยะที่ 3 สรุปโครงการ ครูทบทวนความรู้ของนักเรียนจากที่เคยได้ร่วมสำรวจ สืบค้นด้วยวิธีต่างๆ นำชาร์ตคำถามที่นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามในตอนแรก มาให้นักเรียนตอบคำถามเหล่านั้นด้วยตนเอง

    ทบทวนความรู้ของนักเรียนจากที่เคยได้ร่วมกันสำรวจ สืบค้น เเละให้นักเรียนร่วมกันเรียนรู้และปั้นดินเหนียวตามจินตนาการโดยนักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ผ่านลงมือทำด้วยตนเอง และได้เรียนรู้คณิตศาสตร์จากสายสร้อยอนุกรมจากดินเหนียว

    คณิตศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวคำว่าวิทยาศาสตร์ในขณะที่ให้เด็กทำกิจกรรม เพียงแต่ครูควรตระหนักว่ากิจกรรมที่จัดนั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้เด็ก และควรจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ 

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 

สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 

พัฒนาด้านคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละช่วงอายุ

เลขสำหรับเด็กช่วงอายุ 1-2 ปี

    ในช่วงวัยอายุ 1-2 ขวบ เราก็สามารถกระตุ้นพัฒนาการทางคณิตศาสตร์ได้ อย่างเเรกเลยคือการสอนให้ลูกรู้จักตัวเลขการนับเลขจาก 1-10 ให้เด็กๆฟัง ทั้งการเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก สอนการจดจำรูปร่างพื้นฐานเช่น วงกลม สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม เราต้องสอนให้เด็กๆนับสิ่งต่างๆ รอบๆตัว ด้วยการฝึกซ้อมเเละทำซ้ำบ่อยๆ

คณิตศาสตร์กับเด็กช่วง 3-4 ปี

    ในวัยนี้เด็กๆเริ่มลองเขียนเเล้ว ทั้งการเขียนตัวเลขตามเเบบฝึกหัด การนับเลขตามลำดับเเละเขียนวันที่ ในช่วงวัยนี้เด็กก็จะนับ 0-10 โดยการนับมือด้วยตัวเองหลังจากก้าวผ่านการนับมือจาก 1-10 ได้เเล้ว ก็จะนับ 1-100 ต่อไปเรื่อยๆ  เด็กหลายๆคนก็สามารถเปรียบเทียบปริมาณ ขนาด ความยาว น้ำหนักความเร็ว กระทั่งบอกเวลาจากนาฬิกาได้อีกด้วย

คณิตศาสตร์กับเด็กอายุ 5-6 ปี

    ในช่วงวัยนี้เป็นพัฒนาการที่สำคัญมาก เด็กๆสามารถบวกลบเลขง่ายๆได้เเล้ว เเละสามารถเเยกเเยะเลขคู่ เลขคี่ได้ เด็กบางคนที่ได้ฝึกฝนหรือเรียนเพิ่มเติมก็ควรที่จะสามารถท่องเเม่สูตรคูณเเม่ 1 ถึง แม่ 5 ได้      หากเด็กมีการพัฒนาการตามลำดับ เด็กก็พร้อมที่จะรับมือกับการเรียนรู้คณิตศาสตรืที่โรงเรียนได้

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563

 

ครั้งที่ 1

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1


EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 4 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2563
เวลา 08:30-12:30

    เนื้อหาที่เรียน
        เป็นวันเเรกที่เริ่มเรียนวิชานี้ วันเเรกอาจารย์ให้เเนะนำตัว เเละมีกระดาษมาให้ ให้นักศึกษาเขียนจุดเด่นของตัวเอง เเละอาจารย์ก็ได้อธิบายเกี่ยวกับวิชานี้ว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร เเละร่วมกันทำข้อตกลงของห้องเรียน หลังจากนั้นอาจารย์ก็มอบหมายงานให้นักศึกษาทำบล๊อคของวิชานี้

            1. สร้างบล๊อค
            2. หาวิจัยคณิตศาสตร์เเละวิทยาศาสตร์
            3. หาบทความคณิตศาสตร์เเละวิทยาศาสตร์
            4. หาตัวอย่างการสอนคณิตศาสตร์เเละวิทยาศาสตร์
            5.หาคำศัพท์ภาษาอังกฤษอาทิตย์ละ 5 คำ
            6. จับกลุ่ม 3-5 คน เเล้วถ่ายรูปลงกระดาน padlet

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ
            1. Research = วิจัย
            2. Instructor = อาจารย์ผู้สอน
            3. Science = วิทยาศาสตร์
            4. Mathematics = คณิตศาสตร์
            5. article = บทความ

ประเมินอาจารย์
    อาจารย์เตรียมการสอนมาอย่างดี อธิบายนงานให้นักศึกษาเข้าใจง่าย เข้าสอนตรงเวลา

ประเมินตนเอง
    เข้าเรียนตรงเวลา มีความกระตือรือร้นในการเรียน 

ประเมินเพื่อน
    เพื่อนตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอน           

ครั้งที่ 12 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12 EAED2102 การจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย วันอังคารที่ 17 เดือน พฤศจิกายน ...